ผลงานวิจัยกล่าวว่า Zene Artzney คู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียงตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน การรักษานั้นเกือบถูกต้องเพราะมันชี้ให้เห็นปัญหาจากเศษอาหาร ฟันผุและกลิ่นปาก
หนังสือกล่าวไว้ว่า หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน
นึกภาพไม่ออกเลยว่าฟันของชาวเยอรมันในยุคเรอเนสซองซ์ว่าจะมี ลักษณะและกลิ่นอย่างไรหลังจากกลั้วด้วยไวน์ 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งวิธีนี้จริงๆแล้วทำให้เกิดฟันผุและกลิ่นปากเรื้อรัง
รายงานย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและนำไปทำน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง
Listerine เป็นที่นิยมอย่างมาก สูตรดั้งเดิมของมันก็ถูกผลิตมาอย่างมีประสิทธิภาพ Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน
ส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากนี้สามารถให้รสชาติแปลกได้ เช่นจากการวิจัยในประเทศจีนที่วิเคราะห์ความมีประสิทธิภาพของสารสกัดจาก Nutgall หรือ Wasp egg pouches ซึ่งเกาะตามเปลือกไม้ ในการรักษากลิ่นปากตามบันทึกพบว่ามันใช้ไม่ได้ผล
อย่างไรก็ตาม น้ำยาบ้วนปากบางตัวใช้ได้ผล โดยขจัดสารซัลเฟอร์ที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก การบ้วนปากเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้ปากหอมสดชื่นขึ้นได้